องค์วิชาจิตสู่จิต-พระสัทธรรมฯ
วิธีการ “จิตสู่จิต” นั้นถือกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ดังปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก และในพระสูตรต่างๆ ซึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่ชาวพุทธไทยนับถือนั้น ปรากฎวิธีการฝึกจิตรูปแบบนี้อยู่น้อยมาก และมักนำเสนอในมุมแคบๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใด หากแต่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแล้ว วิธีการ “จิตสู่จิต” คือเพชรน้ำเอกแห่งวิธีการฝึกฝนจิต นำเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดทางพุทธศาสนา นั่นคือนำเข้าสู่ปัญญาแห่งการละวาง คือการหลุดพ้นได้อย่างรวดเร็ว และแบบเฉียบพลันในชาติเกิดชาติเดียวก็มี ซึ่งปรากฎความนิยมวิธีการนี้ ในหมู่ชาวพุทธที่เป็นฆราวาสเสียเป็นส่วนใหญ่
ท่านวรินทร์โธ เป็นผู้ค้นพบองค์วิชานี้..ดังปรากฏในพุทธประวัติในตอนที่กล่าวถึงพระศากยมุนีพุทธเจ้า..ทรงชูดอกบัวต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ แล้วมีพระสาวกทูลถามพระพุทธองค์ว่า “คำสอนที่สูงที่สุดคืออะไร?” ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้นต่างเงียบกริบ มีแต่พระมหากัสสป เพียงท่านเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆ พยักหน้ารับอย่างสงบ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า “เราทรงธรรมที่แท้..อันขจรขจายไปทั่ว...พระนิพพานอันหาสิ่งใดเปรียบเทียบไม่ได้..คำสอนที่ลึกซึ้งไร้รูปลัษณะ ไม่ขึ้นกับตัวอักษร ถ่ายทอดนอกคัมภีร์ใดๆ.. บัดนี้เรามอบต่อพระมหากัสสปแล้ว"
วิธีการฝึกจิตแบบ"จิตสู่จิต"จึงเป็นการฝึกจิต..ลงที่จิตเพียวๆ ของผู้ฝึก ให้สำเร็จที่จิต..สู่การชำระจิตให้บริสุทธิ์ได้อย่างแท้จริง จากจิตปกติอันเป็นนามธรรม ที่สะสมและปนเปื้อนกิเลส..ตัณหา อนุสัยกิเลสต่างๆ มานับไม่ถ้วนจำนวนชาติ และปราศจากปัญญาแห่งการละวาง นำสู่การเข้าถึงปัญญาแห่งการละวางสูงสุดได้ ..สามารถถอดถอนกิเลสในจิตได้อย่างอัศจรรย์ ด้วยวิธีการฝึกที่ไม่ต้องนั่งหลับตาเข้าสมาธิ..ปลอดพิธีกรรม ..ปลอดพิธีการใดๆ ไร้ความซับซ้อนทางภาษา และสามารถฝึกได้ทุกเวลา..อันสอดคล้องกับวิถีฆราวาสของโลกยุคปัจจุบัน ที่ผู้ฝึกยังต้องดำรงชีพอยู่ในวิถีโลก ให้ดำเนินไปได้อย่างปกติ แต่รับผลลัพธ์ที่ได้รวดเร็วทันใจ ตรวจสอบวัดผลประเมินผลได้ อย่างกับวิธีการของวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
จุดเด่นวิธีการจิตสู่จิต
สามารถฝึกได้ทุกที่ ทุกเวลา ฝึกควบคู่กับการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่จำเป็น ต้องนั่งสมาธิ-เดินจงกลม ฝึกง่ายๆ เห็นผลเร็ว ลัด ชัด ตรง สำหรับท่านที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวยก็สามารถฝึกได้ ไม่เสียเวลาทำกิจการงาน ไม่ต้องใช้ทุนทรัพย์ ครอบครัวญาติพี่น้องเพื่อนฝูง สามารถ ฝึกด้วยกันได้เป็นหมู่คณะ